การละวาง : ทิพยศาสตร์การกระทำการในโลกอย่างไม่เห็นแก่ตัวและไม่ยึดมั่น
อรชุนทูลถาม ( ภควันกฤษณะ) :
ข้าพระองค์ใคร่รู้ความหมายที่แท้จริงของการ สันยาสะ (การเลิกละ ) และ ตยาคะ (การสละวาง )และความแตกต่างระหว่างคุณธรรมทั้งสองนี้
ศรีภควัควันตรัส :
นักปราชญ์เรียก การละการกระทำด้วยความอยากว่า “สันยาสะ “
ผู้มีญาณปัญญาประกาศว่า การละผลแห่งการกระทำ คือ “ตยาคะ”
ในภาษาทั่วๆ ไป ทั้งมสันยาสะ และตยาคะ หมายถึง การเลิกละ คือ การสละวัตถุสิ่งของและการแสวงหาทั้งหลาย แต่คีตาได้อธิบายลึกซึ้งถึง การเลิกละที่แท้จริง ว่า ไม่ใช่แค่การสละทางวัตถุ ทว่าจิตต้องหมดความยึดมั่น
สันยาสะ คือการละความอยากอย่างเห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นแรงขับให้กระทำการ ส่วนตยาคะ คือการละไม่ยึดมั่นกับผลแห่งการกระทำ
คีตาไม่ได้สอนไม่ให้กระทำ เพราะการกระทำเป็นสิ่งจำเป็นแก่มนุษย์ และเป็นเครื่องส่งเสริมโยคีที่มีศรัทธาด้วย แต่ภาวะไร้การกระทำนั้นคือการระหว่างที่ได้ สร้างบารมีมา ถึงขั้นที่จิตละวางจากอหังการและมมังการ ด้วยการหยั่งรู้ว่า พระเจ้าคือเอกองค์ผู้ทรงกระทำ ทรงเป็นผู้รู้ และผู้เห็น ในภาวะนี้ แม้ยังทำหน้าที่ต่อไป แต่การกระทำนั้นเป็น การกระทำอย่างไร้การกระทำ เพราะการกระทำเช่นนี้พ้นแล้วจากพันธะแห่งกรรม พ้นจากความเห็นแก่ตัว ไม่เอาผลของงานมาเป็นของตน นี่คือการละวางอย่างยิ่ง ที่โยคีเพียรไปให้ถึง แรกสุด ด้วยกันเรียนรู้ที่จะทำงานโดยปราศจากความต้องการส่วนตัวที่ จะได้รับผลของการกระทำ(สันยาสะ) จากนั้นคือการยกจิตพ้นไปไม่ยึดผลของงาน( ตยาคะ )
คีตาบทที่ 6 โศลก ที่ 1 กล่าวว่า สันยาสี (ผู้เลิกละ )ที่แท้ และโยคีที่แท้ คือผู้ทำดีช่วยเพื่อนมนุษย์ และทำสมาธิภาวนาเพื่อพบพระเจ้าอย่างไม่หวังผลจากหน้าที่ทั้งสองนี้ ที่จะทำให้อหังการพอใจ เขาทำเพียงเพื่อให้พระเจ้าพอพระทัยเท่านั้น เขาเป็นผู้เลิกละ เพราะเขาละความอยากได้ผลของงาน และเขาเป็นโยคีเพราะเขาช่วยยกจิตวิญญาณผู้อื่นแต่วิญญาณตนสู่การหยั่งรู้พระเจ้า คีตาได้กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ไม่ทำหน้าที่ ไม่เป็นทั้งสันยาสี และไม่เป็นโยคี การละวางผลแห่งการกระทำทั้งปวงเพียงเพื่อพบพระเจ้า เป็นสิ่งที่พึงกระทำยิ่งกว่าการพัวพันอยู่กับความทะเยอทะยานทางโลก การละไปจากเป้าหมายทางโลกกระทำการงานเพียงเพื่อให้พระเจ้าพอพระทัย เพื่อจะได้พบพระองค์ นั่นแหละคือโยคะ คือการจัดทำการงานด้วยสมาธิ เพื่อรวมเป็นหนึ่งกับพระเจ้า โยคีที่แท้จึงเป็นสันยาสี และสันยาสีที่แท้ก็คือโยคี
สันยาสะ จึงเป็นการละวางทางจิต แม้กระทำสิ่งที่ดีก็ไม่หวังผลขณะกระทำการนั้น ถ้าสันยาสีให้อาหารแก่คนยากจน แล้วจิตคิดหวังประโยชน์ที่จะได้ หรือทำสมาธิภาวนาเพราะต้องการสนองอหังการ หวังได้ฤทธิ์อำนาจ หรือเป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า การสละนั้นก็ไร้ความบริสุทธิ์ สัน ยาสี กระทำการอย่างไม่เห็นแก่ตัวที่จะสนองอหังการ เพราะกรรมเช่นนั้นย่อมนำไปสู่การเกิดใหม่และเมื่อสันยาสี ที่แท้ทำสมาธิ ท่านคิดถึงแต่พระเจ้าผู้ทรงความประเสริฐเท่านั้น ท่านรักพระองค์อย่างไรเงื่อนไข ไม่หวังรางวัล หรือผลประโยชน์ใดๆ จากการรวมกับพระเจ้า
ด้วยการทำหน้าที่เพื่อพระเจ้า ด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ ไม่คิดถึงผลตอบแทนที่จะตอบสนองให้อหังการเช่นนี้ ผู้ภักดีที่ปฏิบัติสันยาสะ จึงพ้นแล้วจากพันธะตามกฏแห่งกรรม
สันยาสะ จึงหมายถึงการกระทำการงานยังไม่คาดหวังประโยชน์ส่วนตน ขณะทำงานนั้น ส่วน ตยาคะ ซึ่งเป็นการละวางอย่างบริบูรณ์นั้น หมายถึง การไม่ยึดมั่นกับผลงานของงาน เมื่อการกระทำการงานนั้นสำเร็จ
ผู้แสวงหาทางจิตวิญญาณที่มีแต่ความคาดหวัง อาจหมดความสนใจพระเจ้าถ้าพระเจ้าไม่พร้อมที่จะสมแดงพระองค์เพื่อสนองความอยากของเขา แต่ตยาคี ไม่สนใจผลที่จะเกิดขึ้น ต่อให้ความเพียรไม่บังเกิดผลท่านก็ไม่เดือดร้อน ยังมุ่งแสวงหาพระเจ้าต่อไป จริงใจจริงหวังพบพระองค์ ไม่ว่าจะได้รับผลน่าพอใจหรือไม่ จิตที่กระหายจะได้พบพระเจ้าเช่นนี้ ไม่ได้ผูกอยู่กับผลแห่งการกระทำตรงกันข้าม จิตที่เพ่งอยู่ที่พระเจ้าขณะทำการ จะปลดปล่อยผู้ปฏิบัติให้พ้นจากโซ่ตรวนของมายา
หลักการสันยาสะ และ ตยาคะ พัฒนาสูงสุดในลักษณะของอภิปรัชญาซึ่งนิยามว่า ผู้เลิกละอย่างสมบูรณ์คือผู้ที่ละอหังการ ละความใคร่และความยึดมั่นสมุนของอหังการในจิต แล้วหันไปพักพิงอยู่กับจิตวิญญาณในความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้า
ขณะทำสมาธิ สันยาสี เฝ้าดูจิตที่ดิ่งสู่การรวมกับพระเจ้า แล้วกลับออกมาจากพระองค์ เข้าสู่แดนการคิดและอินทรีย์เลยไม่ลืมพระเจ้า ยังดำรงสมาธิมั่นอยู่กับพระองค์ ต่อให้จิตจรไปกับความคิดและอินทรีย์ แต่ความใคร่จะไม่เกิดในสันยาสี ได้เลย
ตยาคี ผู้สำเร็จตั้งมั่นอยู่ในความเกษมแห่งพระเจ้า เมื่อเลิกละแล้วจาก”ผล”ของชีวิตในโลกแห่งวัตถุ จิตของท่านจึงไม่จรไปกับความคิดฟุ้งซ่าน กับกายอินทรีย์ หรือสภาพแวดล้อมทางวัตถุอีกเลย
นี่แหละคือโยคีที่จิตละได้แล้วอย่างสมบูรณ์ ละจากความอยาก ละจากผลแห่งการกระทำ แม้แต่การทำดีหรือการทำสมาธิ กระทำการเพียงเพื่อให้พระเจ้าพอพระทัยเท่านั้น ผู้เลิกละเช่นนี้ เห็นว่าผู้กระทำการทั้งกาย ทางจิต และจิตวิญญาณคือพระเจ้า ไม่ใช่อหังการ พระองค์จึงทรงเป็นผู้รับผลแห่งการกระทำนั้น
บุคคลผู้ยึดอหังการกับมมังการ คือความใคร่และความยึดมั่นในผลแห่งการกระทำ จะคิดวนเวียนอยู่กับกิจการทางโลกทั้งในกายและนอกกาย ส่วนผู้เลิกละที่พักจิตอยู่กับพระเจ้า รู้สึกว่ากิจกรรมทั้งปวง ไม่ว่ากิจกรรมของร่างกายหรือกิจกรรมของจักรวาล ล้วนเป็นผลงานแห่งพระปัญญาแห่งพระเจ้าผู้ทรงสถิตย์ทั่วในการสิ่งสร้างและสรรพชีวิตทั้งปวง
ภควัทคีตา
บทที่ 18 โศลกที่ 2 หน้า 1080- 1082
Sabaidee Journey Quote No.16
#sabaideejourneyquote
------------------------------------------------------------------------------------------
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดตามที่
Facebook Group : Sabaidee Spiritual
.
https://web.facebook.com/groups/496920240982782/
.
ติดตามเราได้ตามช่องทางต่างๆ
Website : http://sabaideesuccess.com/
Youtube Chanel : https://www.youtube.com/channel/UCJvjDwHutZkoTTeR-6XG7xw
Facebook Fanpage : fb.me/SabaideeSuccess
#sabaideejourneyquote