NEWS

จิตวิญญาณ คัมภีร์แห่งความเร้นลับ "พระสูตรที่ 13" | Sabaidee Journey Quote EP 21 (Part 1)

01 May 2021

พระสูตรที่ 14 (Part 1)

ชุดพระสูตร ว่าด้วยเรื่อง “ลมหายใจสะพานทอดสู้ห้วงเอกภพ”

 

บทนำ

 

สัจธรรมดำรงอยู่ที่นี่เสมอมา มันเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว หาใช่สิ่ง ที่จะได้มาในอนาคตไม่ ณ ที่นี่และขณะนี้ เธอคือสัจธรรม ด้วยเหตุนี้เอง มันจึงไม่ใช่สิ่งที่จะต้องสร้างขึ้น ประดิษฐ์ขึ้น หรือแสวงหา ทำความเข้าใจ ตรงจุดนี้ให้กระจ่างชัด แล้วอุบายวิธีเหล่านี้จะง่ายต่อการเข้าใจ และง่าย ต่อการปฏิบัติอีกด้วย

 

จิตใจ คือ กลไกของความปรารถนา จิตใจมีความต้องการอยู่ ตลอดเวลา กล่าวคือ มักจะแสวงหาหรือเรียกร้องบางสิ่งบางอย่างอยู่ เสมอ จิตใจมักจะมีเป้าหมายในอนาคต โดยไม่นำพากับปัจจุบันเลยแม้แต่น้อย ในสภาพเช่นนี้ จิตใจไม่อาจเคลื่อนไหวได้ เพราะปราศจากช่องว่าง จิตใจต้องการอนาคตเพื่อที่จะเคลื่อนไหว มันสามารถเคลื่อนไหวได้ทั้งใน อดีตหรืออนาคต แต่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะ ปรา ศจากช่องว่าง สัจธรรมดำรงอยู่ในปัจจุบัน ส่วนจิตใจนั้น มักจะดำรง อยู่ในอนาคตหรือในอดีตด้วยเหตุนี้ ระหว่างจิตใจกับสัจธรรมจึงไม่เคย มีการบรรจบกัน

 

ขณะ ที่จิตใจกำลังแสวงหาเป้าหมายทางโลกอยู่นั้น นั่นไม่ใช่เรื่อง ยากเย็นอะไรนัก ปัญหาที่เกิดขึ้นก็ไม่ใช่เรื่องไร้แก่นสาร เพราะสามารถแก้ไขได้ แต่เมื่อใดที่จิตใจเริ่มแสวงหาสัจธรรม ความพยายามเช่นนี้ จะกลับกลายเป็นเรื่องไร้แก่นสาร เพราะสัจธรรมดำรงอยู่ที่นี่และขณะ นี้ ส่วน จิตใจนั้น มักจะดำรงอยู่ที่นั่นที่โน่นตลอดเวลา จึงไม่มีวันมาบรรจบกัน ฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องเข้าใจ คือเธอไม่สามารถแสวงหาสัจธรรมได้เธออาจ ค้นพบมันได้ แต่ไม่อาจแสวงหามันได้ การแสวงหานี้แหละ ที่เป็นอุปสรรคขวางกั้น

 

ในชั่วขณะที่เธอเริ่มต้นแสวงหา เธอก็ได้เคลื่อนออกจากปัจจุบัน ออกจากตัวเธอไปแล้ว เพราะตัวเธอดำรงอยู่ในปัจจุบันตลอดเวลา ผู้แสวง หาดำรงอยู่ในปัจจุบันเสมอ ขณะ ที่การแสวงหามักจะอยู่ในอนาคต เธอจะ ไม่มีวันได้พบสิ่งที่เธอแสวงหา เหลาซื้อกล่าวไว้ว่า “จงหยุดแสวงหา หาไม่ แล้วเธอจะไม่พบ เมื่อหยุดแสวงหา แล้วจะได้พบ”

 

อุบายวิธีทั้งหมดของพระศิวะนี้ มุ่งหมายเพียงเพื่อหันเหจิตใจ จากอนาคตหรืออดีตกลับสู่ปัจจุบัน นั่นคือสิ่งที่เธอกำลังแสวงหา มีอยู่แล้ว ที่นั่น มันเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว จิตใจจะต้องเปลี่ยนจากการแสวงหาไปสู่การ ไม่แสวงหา ซึ่งเป็นเรื่องยาก หากเธอพิจารณาโดยอาศัยสติปัญญาแล้ว เป็นเรื่องยากเย็นยิ่งนัก จะหันเหจิตใจจากการแสวงหาไปสู่การไม่แสวงหา เช่นนั้นได้อย่างไร เพราะเมื่อถึงเวลานั้น จิตใจจะทำให้การไม่แสวงหา กลายเป็นจุดมุ่งหมายโดยตัวมันเอง เมื่อนั้น จิตใจจะกล่าวว่า “จงอย่า แสวงหา” จากนั้น มันจะกล่าวว่า “ฉันไม่ควรแสวงหา” แล้วสำทับว่า บัดนี้ การไม่แสวงหาคือจุดมุ่งหมายของฉัน บัดนี้ ฉัน” ปรารถนาจะมีภาวะ ที่ไร้ซึ่งความปรารถนา ” ความปรารถนาหวนกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ความ ปรารถนาหวนกลับมาอีกครั้งผ่านประตูหลังบ้าน นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าทําไม จึงมีผู้คนที่แสวงหาจุดมุ่งหมายทางโลกียะและผู้คนที่คิดว่าตนเองกำลัง แสวงหาจุดมุ่งหมายทางโลกุตระ จุดมุ่งหมายทั้งหมดล้วนเป็นเรื่องทาง

โลกียะทั้งสิ้น เพราะ “การแสวงหา” ก็คือโลกียะนั่นเอง 

 

ดังนั้น เธอจึงไม่อาจแสวงหาสิ่งใดที่ไม่ใช่เรื่องทางโลกียะ ทันทีที่เธอแสวงหา มันจะกลายเป็นเรื่องทางโลกียะทันที หากเธอแสวงหาพระ เป็นเจ้า พระเป็นเจ้าของเธอก็คือส่วนหนึ่งของโลกียะ หากเธอแสวงหาโมกษะหรือนิพพาน การหลุดพ้นของเธอก็คือส่วนหนึ่งของโลกียะ การ หลุดพ้นของเธอมิใช่สิ่งที่หลุดพ้นจากโลกียะ ทั้งนี้เพราะการแสวงหาคือ โลกียะ ความปรารถนาก็คือโลกียะ ด้วยเหตุนี้ เธอจึงไม่อาจปรารถนา นิพพานหรือปรารถนาที่จะไม่ปรารถนาได้ หากเธอพยายามทำความเข้าใจ ในแง่สติปัญญาแล้ว มันจะกลายเป็นปัญหายุ่งยากทีเดียว

 

พระศิวะมิได้ทรงตรัสอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ พระองค์ทรงมุ่งสู่ขั้น ตอนการถ่ายทอดวิธีการโดยทันที ซึ่งอุบายวิธีที่ว่านั้นไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับ สติปัญญาเลย พระองค์มิได้ทรงตรัสกับเทวีว่า “สัจธรรมดำรงอยู่ที่นี่ จงหยุดแสวงหาแล้วเธอจะพบมัน” เช่นนั้นไม่ พระองค์ทรงถ่ายทอดวิธีการ โดยทันที วิธีการเหล่านั้นหาได้เกี่ยวข้องกับสติปัญญาไม่ เมื่อใดที่ลงมือ ปฏิบัติ จิตใจก็เปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงก็เป็นเพียงผลลัพธ์หรือผล พลอยได้อย่างหนึ่ง หาใช่จุดมุ่งหมายไม่ การเปลี่ยนแปลงถือเป็นเพียงผล พลอยได้อย่างหนึ่งเท่านั้น

 

หากเธอปฏิบัติตามอุบายวิธีนี้ จิตใจเธอจะวกกลับจากการเดินทาง ไปสู่อนาคตหรืออดีต ในบัดดลนั้น เธอจะพบว่าตัวเธอเองดำรงอยู่ใน ปัจจุบัน นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมพระพุทธองค์ถึงได้ทรงถ่ายทอดอุบายวิธีทำไมเหลาจื่อถึงได้ถ่ายทอดวิธีการ ทำไมพระกฤษณะถึงได้ทรงประทาน อุบายวิธี แต่ท่านเหล่านั้นมักจะแนะนำอุบายวิธีของตนเองโดยอาศัย นามธรรมความคิดเป็นหลัก มีเพียงพระศิวะเท่านั้นที่ต่างออกไปพระองค์ ทรงถ่ายทอดอุบายวิธีให้ทันที โดยไม่มีการปูพื้นด้านนามธรรมความคิดเสียก่อน เพราะพระองค์ทรงทราบดีว่า จิตใจนั้นเจ้าเล่ห์เพทุบาย และเป็นฝั่ง ตลบแตลงที่สุดเท่า ที่เคยปรากฏมา มันเหมารถเปลี่ยนสิ่ง ใดก็ได้ให้กลาย เป็นปัญหา แม้กระทั่งการไม่แสวงหาก็จะกลายเป็นปัญหาไปได้ มีผู้คนมาหาฉัน แล้วถามถึงวิธีที่จะไม่ปรารถนาสิ่งใด

 

ส่วนปรารถนาที่จะไม่ปรารถนา พวกเขาได้รับฟังจากใครบางคน หรือได้ อ่านจากที่ไหนสักแห่ง หรือได้ยินเสียงกระซิบทางธรรมว่า ถ้าไว้ซึ่งความ ปรารถนา เธอจะบรรลุถึงความสุข ถ้าไร้ซึ่งความปรารถนา เธอจะเป็น อิสระ ถ้าไว้ซึ่งความปรารถนา ก็จะไม่เป็นทุกข์ ดังนั้นพวกเขาจึงได้ถาม ถึงวิธีที่จะไร้ซึ่งความปรารถนา บัดนี้ จิตใจของพวกเขากระหายที่จะไปถึง ภาวะนิรทุกข์ ดังนั้นพวกเขาจึงไต่ถามถึงวิธีที่จะไว้ซึ่งความปรารถนา จิตใจ ของเขากำลังเล่นมายากลตบตา เขาก็ยังคงปรารถนาอยู่เช่นเดิม เพียงแต่ ว่าในขณะนี้ เป้าหมายได้เปลี่ยนไป เขาอาจเคยปรารถนาเงินทอง ชื่อเสียง เกียรติยศ หรืออำนาจ บัดนี้ เขาปรารถนาที่จะไร้ซึ่งความปรารถนา มีเพียง วัตถุประสงค์เท่านั้นที่เปลี่ยนไป ตัวเขาเองตลอดจนความปรารถนาของเขา ก็ยังคงเป็นเช่นเดิม เพียงแต่ว่าบัดนี้ ความปรารถนาจะทวีความโป้ปด มดเท็จยิ่งขึ้นไปอีก

 

เพราะเหตุนี้เอง พระศิวะจึงทรงดำเนินการทันที โดยปราศจาก การอารัมภบทใดๆ ทั้งสิ้น พระองค์ทรงเริ่มกล่าวถึงอุบายวิธีโดยทันที วิธี การเหล่านั้นหากปฏิบัติตามแล้ว จะหันเหจิตใจเธอมาสู่ปัจจุบันโดยไม่คาดฝัน และเมื่อใดที่จิตใจหวนคืนสู่ปัจจุบัน มันจะหยุดชะงักลงเพียงนั้น เธอ ไม่สามารถคงจิตใจไว้ได้ในปัจจุบัน นั่นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ชั่วขณะนี้ หากเธอดำรงอยู่ที่นี่และขณะ นี้ เธอจะคงจิตใจไว้ได้อย่างไรกันความคิด ต่าง ๆ จะหยุดยั้งลงเพราะมันไม่อาจเคลื่อนไหวได้ ปัจจุบันขณะไม่มีช่อง ว่างให้ขยับตัว เธอไม่อาจจะคิดสิ่งใดได้ หากว่าเธอดำรงอยู่ในชั่วขณะนี้อย่างเต็มตัว เธอจะเคลื่อนไหวได้อย่างไรกัน จิตใจจะสะดุดหยุดยั้งลง เธอจะบรรลุถึงภาวะไร้ใจ

 

ฉะนั้น ประเด็นที่แท้จริงจึงอยู่ที่ว่า จะดำรงอยู่กับปัจจุบันได้ อย่างไร เธอสามารถทดลองดูได้ แต่ความพยายามกลับเป็นสิ่งไร้สาระ เพราะถ้าเธอตั้งใจที่จะคงอยู่ในปัจจุบัน ความตั้งใจนี้ก็ได้เลื่อนไปสู่อนาคตเสียแล้ว ขณะที่เธอไต่ถามถึงวิธีที่จะคงอยู่ในปัจจุบัน เธอก็กำลังไต่ถาม ถึงอนาคตอีกนั่นแหละ ชั่วขณะนี้กำลังผ่านเลยไปกับการถามไถ่ที่ว่า ทำอย่างไรถึงจะคงอยู่ในปัจจุบัน ทำอย่างไรถึงจะคงอยู่ที่นี่และขณะนี้ได้ ชั่วขณะนี้กำลังผ่านเลยไปทุกขณะกับการถามไถ่เช่นนี้ และจิตใจเธอจะเริ่ม ถักทอและสร้างวิมานในอนาคต “คงมีสักวันหนึ่ง” ที่จิตใจเธอจะอยู่ในภาวะ ที่ “ปราศจากการเคลื่อนไหว ไร้จุดประสงค์ ไร้ซึ่งการแสวงหา แล้วจาก นั้นก็เป็นสุข” ดังนั้นจึงถามว่า “จะคงอยู่ในปัจจุบันได้อย่างไร”

 

พระศิวะมิได้ทรงตรัสสิ่งใดเกี่ยวกับเรื่องนี้ พระองค์เพียงแต่ ประทานอุบายวิธีให้เท่านั้น เพียงแต่ปฏิบัติมันแล้วทันใดนั้น เธอจะพบ ว่าตัวเองดำรงอยู่ที่นี่และขณะนี้ การดำรงอยู่ที่นี่และขณะนี้ของเธอนี่แหละ คือสัจธรรม คืออิสรภาพและนิพพาน

 

อุบายวิธีเก้าข้อถัดต่อไปนี้ เกี่ยวเนื่องกับการหายใจ ฉะนั้น ขอให้พวกเรา รับรู้อะไรบางอย่างเกี่ยว กับการหายใจเสียก่อน จากนั้นเราจะมุ่งสู่วิธีการกัน ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย เรามีการหายใจอย่างไม่หยุดยั้ง ทุกสิ่งทุกอย่าง เปลี่ยนแปลงไประหว่างสองจุดนี้ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไป ไม่มีสิ่งใด คงเดิม มีเพียงการหายใจเท่านั้นที่คงอยู่อย่างถาวรระหว่างการเกิดและ การตาย

 

เด็กน้อยจะกลับกลายเป็นหนุ่มสาว ผู้เยาว์จะกลับกลายเป็นคน ชรา เขาจะถูกโรคร้ายเข้ารุมเร้า ร่างกายของเขาจะกลับกลายเป็นสิ่งอัปลักษณ์หรือเจ็บไข้ได้ป่วย ทุกสิ่งทุกอย่างจะเปลี่ยนไป เขาจะมีสุข ไร้สุข จมอยู่ในห้วงทุกข์ ทุกๆอย่างจะยังคงเปลี่ยนแปลงต่อไป แต่ไม่ว่า จะมีสิ่งใดเกิดขึ้นระหว่างสองจุดนี้ก็ตาม คนผู้นั้นจะต้องหายใจ ไม่ว่าคน ผู้นั้นจะมีสุขหรือไร้สุข จะเป็นหนุ่มสาวหรือคนชรา จะประสบความสำเร็จ หรือไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ว่าเธอจะเป็นอะไรก็ตาม นั่นไม่ใช่สาระ สำคัญ สิ่งหนึ่งที่แน่นอนก็คือ ระหว่างการเกิดและการตายทั้งสองจุดนี้ เธอจะต้องหายใจ

 

การหายใจจะเป็นกระแสที่ไหลบ่าอย่างต่อเนื่องจนไม่ปรากฏ ช่องว่างอยู่เลย หากเธอลืมหายใจไปแม้เพียงครู่เดียว ก็จะไม่มีตัวเธออีก ต่อไป นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมเธอจึงไม่ได้ถูกร้องขอให้หายใจ เพราะหากเป็นเช่นนั้น คงต้องเกิดเรื่องยุ่งยากเป็นแน่ อาจมีใครบางคนลืมหายใจไป ชั่วขณะหนึ่ง จากนั้นก็แก้ไขอะไรไม่ได้ ดังนั้นเธอจึงมิใช่ผู้หายใจ เพราะ ตัวเธอไม่จำเป็น เธอกำลังนอนหลับสบาย การหายใจก็ยังดำเนินอยู่ แม้ เธอไม่รู้สึกตัว การหายใจก็ยังดำเนินอยู่ เธอกำลังสลบไสล การหายใจก็ ยังดำเนินอยู่ เธอไม่ได้ถูกร้องขอให้กระทำ การหายใจคือสิ่งที่ดำเนินไป อย่างต่อเนื่อง แม้จะมีตัวเธออยู่ก็ตาม

 

ลมหายใจ คือหนึ่งในปัจจัยที่มั่นคงถาวรในบุคลิกภาพของเธอ นั่นคือประการแรก ประการต่อมาก็คือ มันเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง และ เป็นรากฐานของชีวิต เธอไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้โดยไม่หายใจ ด้วยเหตุนี้ ลมหายใจและชีวิตจึงมีความหมายท้องกัน การหายใจคือกลไกของชีวิต ส่วนชีวิต เกี่ยวโยงกับการหายใจอย่างลึกซึ้ง นั่นคือเหตุผลที่ว่าทำไมใน อินเดีย เราจึงเรียกมันว่า “ปราณ” เราบัญญัติศัพท์ขึ้นมาคำเดียวสำหรับ สองสิ่งนี้ “ปราณ” หมายถึงพลังชีวิต ความกระปรี้กระเปร่า ชีวิตเธอคือ ลมหายใจของเธอ

 

ประการที่สาม ลมหายใจของเธอคือสะพานเชื่อมระหว่างตัวเธอกับ ร่างกาย ลมหายใจทำหน้าที่ประสานตัวเธอเข้ากับร่างกาย เชื่อมโยงและ เกาะเกี่ยวตัวเธอเข้ากับร่างกาย ลมหายใจไม่เพียงเป็นสะพานทอดสู่ร่างกายเธอเท่านั้น แต่ยังเป็นสะพานเชื่อมระหว่างตัวเธอกับห้วงเอกภพ อีกด้วย ร่างกายเป็นเพียงห้วงเอกภพที่ปรากฏอยู่ในตัวเธอและใกล้ชิด กับเธอ

 

ร่างกายเธอคือส่วนหนึ่งของห้วงเอกภพ ทุกอย่างในร่างกายคือ ส่วนหนึ่งของห้วงเอกภพ ทุก ๆ อนุภาคทุก ๆ เซลล์ในร่างกาย มันคือ สิ่งที่ชิดใกล้กับห้วงเอกภพมากที่สุด ลมหายใจคือสะพานเชื่อม หาก สะพานที่ว่า นี้พังพินาศไป เธอย่อมสูญสิ้นไปจากร่างกาย หากสะพานที่ว่านี้ พังพินาศไป เธอย่อมปลาสนาการไปจากห้วงเอกภพ เธอจะเคลื่อนเข้าสู่ มิติบางอย่างที่ไม่รู้จัก แล้วหายสาบสูญไปจากห้วงอวกาศและกาลเวลา ฉะนั้นในประการที่สาม ลมหายใจยังเป็นสะพานเชื่อมระหว่างตัวเธอกับ ห้วงอวกาศและกาลเวลาอีกด้วย

 

ดังนั้น ลมหายใจจึงทรงความสำคัญยิ่งนัก ถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ทีเดียว ด้วยเหตุนี้ อุบายวิธีเก้าข้อแรกจึงล้วนเกี่ยวเนื่องกับลมหายใจ หากเธอสามารถกระทำสิ่งใดกับลมหายใจได้ เธอจะหันกลับมาสู่ปัจจุบันทันที หากเธอสามารถกระทำสิ่งใดกับลมหายใจได้ เธอจะบรรลุถึงแหล่ง ที่มาของชีวิต หากเธอสามารถกระทำสิ่งใดกับลมหายใจได้ เธอจะ สามารถก้าวพ้นห้วงเวลาและอวกาศได้ หากเธอสามารถกระทำสิ่งใดกับ ลมหายใจได้ เธอจะดำรงอยู่ในโลกและอยู่เหนือมันไปด้วยในขณะเดียวกัน

 

ลมหายใจมีอยู่ด้วยกันสองจุด จุดหนึ่งคือที่ที่มันสัมผัสกับรูป กายและห้วงเอกภพ ส่วนอีกจุดหนึ่งคือที่ที่มันสัมผัสกับตัวเธอและอยู่พ้น จากห้วงเอกภพ เรารู้จักลมหายใจแต่เฉพาะส่วนเดียว ขณะที่มันเคลื่อนเข้าสู่ห้วงเอกภพ เข้าสู่รูปกาย เรารู้จักมันดี แต่ลมหายใจมักจะเคลื่อน จากรูปกายไปสู่ “นามกาย” จาก “นามกาย” มาสู่รูปกาย เราไม่รู้จักจุดที่ เหลือนี้ หากเธอตระหนักรู้ถึงจุดที่เหลือ ส่วนที่เหลือของสะพานหรืออีกปลายหนึ่งของสะพานนอกเหนือจากนี้ เธอจะเกิดการแปรสภาพ การ เคลื่อนย้ายสู่มิติที่แตกต่างทันที

แต่พึ่งสำเหนียกไว้ว่า สิ่งที่พระศิวะจะตรัสต่อไปนี้ไม่ใช่โยคะ หาก แต่เป็นตันตระ โยคะมีการปฏิบัติในเรื่องลมหายใจเช่นกัน แต่การปฏิบัติ ของโยคะและตันตระตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ต่างกัน โยคะพยายามปรับการ หายใจให้เป็นระบบ หากเธอจัดระบบการหายใจของเธอ สุขภาพของเธอ จะดีขึ้น หากเธอจัดระบบการหายใจของเธอ หรือล่วงรู้ถึงความลับของการ หายใจ ชีวิตของเธอจะยืนยาวขึ้น เธอจะมีพลานามัยดีและมีอายุยืน นานขึ้น เธอจะแข็งแรง เปี่ยมด้วยพลังชีวิตยิ่งกว่าเดิม กระฉับกระเฉง ดูเป็นหนุ่มเป็นสาวและมีกำลังวังชา

แต่ตันตระไม่สนใจกับเรื่องดังกล่าว สิ่งที่ต้นตระสนใจมิใช่เรื่อง ของการจัดระบบลมหายใจใด ๆ ทั้งสิ้นแต่อยู่ที่การประยุกต์ใช้ลมหายใจ ในฐานะวิธีการเพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจ บุคคลผู้นั้นไม่จำเป็นต้อง ฝึกการหายใจในรูปแบบเฉพาะ ในระบบเฉพาะ หรือในจังหวะเฉพาะ ไม่ จำเป็นเลย เขาแค่หายใจไปตามปกติอย่างที่เคยเป็น เพียงแต่ต้อง ตระหนักรู้ถึงจุดที่แน่นอนในช่วงที่หายใจ

มีจุดบางจุดดำรงอยู่ เพียงแต่เราไม่ตระหนักรู้ถึงมัน เราหายใจมา โดยตลอดและจะหายใจต่อไป เราเกิดมาพร้อมกับการหายใจ และจะตาย ไปพร้อมกับการหายใจ แต่เราไม่ตระหนักรู้ถึงจุดเหล่านั้น ซึ่งนับเป็นเรื่องแปลก มนุษย์เรากำลังค้นหาและสำรวจลึกไปในห้วงอวกาศ มนุษย์ เรากำลังมุ่งสู่ดวงจันทร์ มนุษย์เรากำลังพยายามไปให้ถึงที่ที่ห่างไกลไปกว่านั้น จากพื้นพิภพสู่ห้วงอวกาศ แต่ถึงกระนั้น มนุษย์เราก็ยังไม่ได้เรียนรู้ถึงส่วนที่ใกล้ชิดกับชีวิตตนเองที่สุด ในช่วงที่หายใจ มีจุดบางจุด ซึ่งเธอไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อนจุดเหล่านั้นคือประตู ประตูที่อยู่ใกล้ชิด เธอที่สุด เป็นจุดที่เธอสามารถเข้าสู่โลกที่แตกต่าง เข้าสู่การดำรงอยู่ที่ แตกต่าง หรือจิตสำนึกที่แตกต่างได้ แต่จุดเหล่านั้นมีความละเอียดอ่อน จนยากที่จะจับเค้าได้

อ่านต่อ Part 2 ได้ที่ http://www.sabaideesuccess.com/news/107